NK Cell Therapy เซลล์เม็ดเลือดขาว บำบัดมะเร็งทางเลือก

NK Cell Therapy โปรแกรมกระตุ้นภูมิคุ้มกันและบำบัดรักษาโรคมะเร็งแบบทางเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยเองหรือผู้ให้บริจาค เห็นผลชัดเจน รวดเร็ว และปลอดภัย ติดต่อเราวันนี้ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

NK Cell คืออะไร? มีประโยชน์อะไร?

NK Cell หรือ Natural Killer Cells คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งคิดเป็นเพียง 5-10% ของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายเท่านั้น โดยมีหน้าที่หลักในการตรวจจับและทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง รวมทั้งเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส เซลล์ NK มีความสามารถในการทำลายเซลล์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องการการกระตุ้นจากแอนติเจนเฉพาะหรือภูมิคุ้มกันประเภทอื่น

NK Cell Therapy เป็นการรักษาบำบัดโดยการใช้ NK Cell ของผู้ป่วยเองเพื่อนำไปรักษาโรคต่างๆ และในปัจจุบันนอกจากจะใช้ช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้กับโรคต่างๆ แล้ว ยังเป็นที่นิยมอยางมากในการนำมาใช้ในการรักษาบำบัดโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยทางศูนย์ The Wellness Thonglor ของเราก็มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดด้วย NK Cell อย่างมีประสิทธิภาพ

กลไกการทำงาน

NK Cell ทำงานโดยการตรวจจับเซลล์ที่มีลักษณะผิดปกติในร่างกาย เช่น เซลล์มะเร็งหรือเซลล์ที่ติดเชื้อ เซลล์เหล่านี้จะไม่สามารถแสดงสัญญาณที่คุ้นเคยกับเซลล์ภูมิคุ้มกันทั่วไป (เช่น เซลล์ที่ไม่แสดง MHC Class I ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้เซลล์ภูมิคุ้มกันสามารถจำแนกได้) ดังนั้น NK Cells จึงสามารถระบุและทำลายเซลล์ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลไกหลักที่ช่วยให้ NK Cells ทำงานได้สำเร็จ ได้แก่:

  • การทำลายเซลล์โดยตรง: NK Cell จะปล่อยสารพิษที่ทำลายเซลล์เป้าหมาย
  • การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน: เมื่อ NK Cell ทำลายเซลล์ผิดปกติ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น T Cells ให้ทำงานร่วมกันในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
  • การป้องกันการเติบโตของมะเร็ง: ตัวเซลล์เพชฌฆาตช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งใหม่ ๆ โดยการทำลายเซลล์ที่มีลักษณะผิดปกติ

ขั้นตอนการบำบัด

การบำบัดด้วย NK Cell Therapy เป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอนซึ่งแต่ละขั้นตอนจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้มั่นใจว่าเซลล์ NK มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษามะเร็ง โดยจะมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้:

1. การเก็บตัวอย่างเซลล์

  • กระบวนการ: การเก็บเซลล์เม็ดเลือดขาว (Leukapheresis) จากผู้ป่วยจะเริ่มต้นโดยการเชื่อมต่อกับเครื่องพิเศษที่เรียกว่า leukapheresis machine ซึ่งทำหน้าที่กรองเลือดเพื่อแยกเซลล์เม็ดเลือดขาวออกจากส่วนอื่นๆ ของเลือด เช่น เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด
  • ระยะเวลา: กระบวนการนี้อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง (ประมาณ 2-3 ชั่วโมง) ขึ้นอยู่กับปริมาณเซลล์ที่ต้องการ
  • ข้อควรระวัง: ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการข้างเคียงจากการเก็บเลือด เช่น อาการเวียนศีรษะหรือการสูญเสียของเหลวในร่างกาย ซึ่งสามารถรับมือได้ด้วยการให้สารน้ำและการดูแลจากทีมแพทย์

2. การขยายเซลล์

  • กระบวนการ: NK Cell ที่เก็บมาแล้วจะถูกนำไปขยายในห้องปฏิบัติการภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม โดยใช้สารอาหารและกระบวนการพิเศษในการกระตุ้นเซลล์ให้เติบโตและเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การปลูกเซลล์ในสื่อที่มีสารกระตุ้นและการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเติบโตของเซลล์
  • ระยะเวลา: การขยายเซลล์จะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับประเภทของเซลล์และจำนวนเซลล์ที่ต้องการ

3. การนำเซลล์ NK กลับเข้าสู่ร่างกาย

  • กระบวนการ: เมื่อ NK Cell ขยายจำนวนเสร็จสิ้นแล้ว เซลล์เหล่านี้จะถูกนำเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยผ่านการฉีดเข้าเส้นเลือด (Intravenous Infusion) โดยตรง ซึ่งจะช่วยให้เซลล์ NK ไปยังจุดที่ต้องการ เช่น เซลล์มะเร็งหรือเซลล์ที่ติดเชื้อ
  • การเตรียมตัว: ก่อนการฉีดเซลล์ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมพร้อมโดยการให้สารน้ำหรือการให้ยาระงับอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การใช้ยาต้านการอักเสบ
  • ระยะเวลา: กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีในการฉีดเซลล์ NK ผ่านทางเส้นเลือด

4. การติดตามผล

  • กระบวนการ: หลังจากการให้เซลล์เพชฌฆาตกลับเข้าสู่ร่างกายแล้ว ทีมแพทย์จะทำการติดตามผลเพื่อดูว่าผลของการบำบัดเป็นอย่างไร การติดตามนี้รวมถึงการตรวจเลือด การสแกนมะเร็ง หรือการตรวจสอบอาการทางคลินิกของผู้ป่วย
  • ระยะเวลา: การติดตามผลจะมีการตรวจสอบอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์หลังจากการบำบัด เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการรักษา
  • ข้อควรระวัง: ทีมแพทย์จะตรวจสอบความคืบหน้าและให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาที่จะทำร่วมกับการบำบัดนี้ เช่น การผสมผสานกับเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี

การตรวจ NK Count และ NK Activity

การตรวจวิเคราะห์ NK Count และ NK Activity มีความสำคัญต่อการประเมินภูมิคุ้มกัน:

  • วัดปริมาณและประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งและไวรัส
  • ผู้ที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำเสี่ยงต่อการติดเชื้อและมะเร็งสูงกว่า

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะเริ่มต้น (COLOTECT)

ตรวจคัดกรองด้วยการวิเคราะห์ DNA methylation ใน 3 ยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้

  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 45-75 ปี หรือมีประวัติมะเร็งในครอบครัว
  • ช่วยตรวจพบติ่งเนื้อที่มีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็ง

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็ง (Selection Tumor Marker)

มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลกรวมถึงประเทศไทย การตรวจคัดกรองมะเร็งช่วยให้เราสามารถรู้เท่าทันโรคและมีโอกาสรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ โดยเฉพาะการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง หรือ Tumor Marker

สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker)

สารบ่งชี้มะเร็ง คือ สารโปรตีนที่ผลิตโดยเนื้อเยื่อมะเร็งเอง หรือบางครั้งโดยร่างกายเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของมะเร็ง สารเหล่านี้สามารถตรวจพบได้ในตัวอย่างร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ และเนื้อเยื่อ

ประเภทของการตรวจคัดกรอง:

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
  • ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งสำหรับชาย/หญิง

ปรึกษาโปรแกรมสุขภาพกับแพทย์เชี่ยวชาญ ฟรี