สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คืออะไร มีอะไรบ้าง ช่วยอะไรได้

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือสารประกอบที่ช่วยป้องกันหรือชะลอกระบวนการเกิดออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่สร้างอนุมูลอิสระ (free radicals) ในร่างกาย โดยสิ่งเหล่านี้สามารถทำลายเซลล์ ทำให้ผิวหนังเสื่อมสภาพเร็วและแก่ก่อนวัย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน และโรคทางระบบประสาท
สารต้านอนุมูลอิสระจะทำงานโดยการ “ให้” อิเล็กตรอนแก่อนุมูลอิสระ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย
ประโยชน์
- ชะลอความเสื่อมของเซลล์และลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง
- เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคและความเครียดได้ดีขึ้น
- ช่วยให้ผิวพรรณดูอ่อนเยาว์ ลดริ้วรอย จุดด่างดำ และการอักเสบของผิว
- ลดความเสี่ยงของมะเร็งโดยป้องกันความเสียหายของ DNA
- ช่วยต้านการอักเสบในระดับเซลล์และระบบต่างๆ ในร่างกาย
- ส่งเสริมสุขภาพสมอง ป้องกันความเสื่อมของระบบประสาท
- ช่วยระบบไหลเวียนโลหิตและลดการสะสมของไขมันเลว (LDL)
- บำรุงสมองและระบบประสาท ช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ และชะลอการเสื่อมของสมอง
- ช่วยดีท็อกซ์และบำรุงตับ
- เสริมการฟื้นฟูของร่างกายหลังเจ็บป่วยหรือออกกำลังกายหนัก
มีอะไรบ้าง
สารต้านอนุมูลอิสระในธรมชาตินั้นมีจำนวนมาก โดยมีมากกว่า 4,000 ชนิด แต่ด้านล่างนี้นั้นเป็นตัวที่เป็นที่นิยมรับประทานและมีการศึกษาวิจัยอย่างแพร่หลาย:
- วิตามินซี (Vitamin C): วิตามินละลายน้ำ ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหาย กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ธาตุเหล็กดูดซึมได้ดีขึ้น
- วิตามินอี (Vitamin E): วิตามินละลายในไขมัน ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายโดยไขมันไม่ดี และลดการอักเสบในร่างกาย
- เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene): เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มีบทบาทในการบำรุงสายตา ผิวพรรณ และภูมิคุ้มกัน
- ไลโคปีน (Lycopene): สารสีแดงในมะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ลูทีน (Lutein): พบมากในผักใบเขียว ช่วยปกป้องจอประสาทตาจากแสงสีฟ้า และลดความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม
- ซีแซนทีน (Zeaxanthin): ทำงานร่วมกับลูทีนในดวงตา ช่วยกรองแสงและป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระในดวงตา
- ซีลีเนียม (Selenium): แร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ antioxidant ช่วยกำจัดสารพิษและปกป้องเซลล์จากการเสื่อม
- ซิงก์ (Zinc): เสริมภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมเซลล์ และมีบทบาทในกระบวนการต้าน oxidation ในระดับเซลล์
- แมงกานีส (Manganese): มีส่วนในการสร้างเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดอนุมูลอิสระ
- โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10): ช่วยสร้างพลังงานให้เซลล์ ป้องกันความเสียหายของเซลล์หัวใจ สมอง และชะลอวัย
- กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid): เป็นสารต้านอนุมูลอิสระทั้งในน้ำและไขมัน ช่วยรีไซเคิลวิตามินซีและอี
- กลูต้าไธโอน (Glutathione): สารต้านอนุมูลอิสระหลักของร่างกาย ช่วยล้างพิษจากตับ ลดการอักเสบ และส่งเสริมผิวใส
- โพลีฟีนอล (Polyphenols): พบในชาเขียว ผักผลไม้ ไวน์แดง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในระดับเซลล์
- ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids): กลุ่มสารพฤกษเคมีที่พบในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หัวหอม ชาเขียว ช่วยลดความดันโลหิตและเสริมหลอดเลือดแข็งแรง
- แอนโธไซยานิน (Anthocyanins): สารสีม่วงแดงในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช่วยบำรุงหัวใจ ต้านการอักเสบ และเสริมภูมิคุ้มกัน
อาหารที่ช่วยเพิ่ม
อาหารที่ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายนั้นมีหลากหลาย โดยที่สำคัญๆ นั้นมีดังนี้:
- ผักใบเขียวเข้ม: เช่น คะน้า ผักโขม บรอกโคลี เต็มไปด้วยลูทีน วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน ช่วยปกป้องเซลล์และบำรุงสายตา
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่: เช่น บลูเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ อุดมด้วยแอนโธไซยานินและวิตามินซี ช่วยลดการอักเสบ ป้องกันความเสียหายในระดับเซลล์
- มะเขือเทศ: แหล่งสำคัญของไลโคปีน ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะเมื่อผ่านการปรุงสุก
- ชาเขียว: อุดมด้วยโพลีฟีนอล โดยเฉพาะ EGCG ที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ เสริมระบบภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบ
- ถั่วและเมล็ดพืช: เช่น อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง มีวิตามินอี ซีลีเนียม และกรดไขมันดี
- ดาร์กช็อกโกแลต: มีฟลาโวนอยด์สูง ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ลดความดันโลหิต และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- แครอท ฟักทอง มันเทศ: แหล่งของเบต้าแคโรทีน ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ เสริมภูมิคุ้มกันและดูแลสุขภาพผิว
- กระเทียม: มีสารอัลลิซิน (Allicin) ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านจุลชีพ และลดคอเลสเตอรอล
- ขมิ้นชัน: มีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- อะโวคาโด: อุดมด้วยวิตามินอี วิตามินซี และกรดไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยบำรุงผิวพรรณและหลอดเลือด
- องุ่นแดง: โดยเฉพาะเปลือก มีสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ที่ดีต่อหัวใจและชะลอความเสื่อมของเซลล์
- เห็ดหลินจือ เห็ดชิตาเกะ: มีสารโพลีแซคคาไรด์ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และช่วยต้านอนุมูลอิสระอย่างดี
ข้อควรระวังหากซื้ออาหารเสริมมาทานเอง
ในปัจจุบันมีอาหารเสริม Antioxidant ให้เลือกมากมายในท้องตลาด ซึ่งถึงแม้สารเหล่านี้จะค่อนข้างปลอดภัยในการรับประทาน แต่หากกินมากเกินไปก็ย่อมส่งผลเสียให้กับร่างกาย เช่น:
- กินใปริมาณที่เกินความจำเป็น ทำให้อาจสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดพิษ
- บางชนิดหากเสริมมากเกินไปอาจรบกวนการดูดซึมของวิตามินอื่น เช่น วิตามินอีมากไปอาจรบกวนการแข็งตัวของเลือด
- การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ อาจมีสิ่งเจือปน สารเติมแต่ง หรือไม่ได้มาตรฐาน
- บางคนมีโรคประจำตัวหรือรับประทานยา ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน
เสริมวิตามินอย่างปลอดภัยกับ The Wellness Thonglor
ที่ Wellness เราให้บริการตรวจระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย รวมถึงให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแนะนำแนวทางการเพิ่มสารเหล่านี้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน ทั้งในรูปแบบการรับประทานอาหาร การเสริมวิตามินเฉพาะบุคคล รวมถึง IV Drip สูตรเฉพาะที่ช่วยเพิ่มกลูต้าไธโอน วิตามินซี และ CoQ10 ที่ให้ผลลัพธ์ชัดเจน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพจากภายในอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมการรักษาของเรา ติดต่อวันนี้ โทร 0661642492 ADD LINE หรือทำการนัดผู้เชี่ยวชาญของเราเพิ่อขอข้อมูลเพิ่มเติม